ประวัติ ของ บราวน์ (บริษัทเยอรมัน)

สำนักงานใหญ่ของบริษัทในแฟรงค์เฟิร์ต, ปี 2503.

Braun (บราวน์)ได้ก่อตั้งโดย Max Braun วิศวกรเครื่องกล แรกเริ่มเป็นร้านช่างกลขนาดเล็กในแฟรงค์เฟิร์ตในปี พ.ศ. 2464 ต่อมาปี พ.ศ. 2466 เริ่มผลิตชิ้นส่วนสำหรับวิทยุ และในปี พ.ศ. 2471 บริษัทเติบโตอย่างมากซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้วัสดุพลาสติก ทำให้ต้องย้ายไปยังสถานที่ใหม่บนถนน Idsteiner

ในปี 2472 แปดปีหลังจากที่เขาเริ่มเปิดร้าน Max Braun เริ่มผลิตรายการวิทยุทั้งหมด ไม่นานหลังจากนั้น Braun กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวิทยุชั้นนำของเยอรมนี การดำเนินกิจการก้าวหน้าพัฒนาต่อไปด้วยดีจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่รวมวิทยุกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในปี 2475

ตราสินค้า Braun ได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกปี 2478[2] และเครื่องหมายการค้าที่มีเอกลักษณ์ ตัวอักษร "A"[3] ที่ยกสูงได้ถือกำเนิดขึ้น [2] ถัดมาในปี 2480 Max Braun ได้รับรางวัลการสร้างความสำเร็จพิเศษจากเครื่องเล่นจานเสียง

ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบริษัท Braun ถูกบังคับให้ยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับพลเรือน [4] และโรงงาน Braun ในแฟรงค์เฟิร์ตเกือบจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง แต่สามารถกลับมาสร้างใหม่ในปี 2487 ภายหลังสงคราม Braun ได้กลับมาผลิตวิทยุและอุปกรณ์เครื่องเสียงชั้นสูง และในไม่ช้าก็กลายเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องเครื่องเล่นเสียงที่มี "ความเที่ยงตรงสูง" (เครื่องเล่นเสียงไฮไฟ) และเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งรวมถึงสายผลิตภัณฑ์ SK ที่มีชื่อเสียง Braun ยังเป็นผู้รับใบอนุญาตแต่ผู้เดียวของลำโพงไฟฟ้าสถิต QUAD นอกประเทศอังกฤษในระยะเวลาหนึ่ง

ในปีพ. ศ. 2497 บริษัท ได้เริ่มผลิตเครื่องฉายภาพฟิล์มสไลด์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในอีกสี่สิบปีถัดมา ในปีพ. ศ. 2499 Braun ทำการตลาดเครื่องฉายสไลด์ฟิล์มอัตโนมัติแบบถาดเครื่องแรก ในชื่อ PA 1 เครื่องฉายสไลด์ Braun ทั้งหมดได้ใช้ประโยชน์จากการออกแบบเป็นถาดแบบตรงซึ่งตรงข้ามกับแบบถาดกลม ซึ่งทำให้เครื่องฉายมีขนาดเล็กกะทัดรัด

ในช่วงทศวรรษที่ 1950 (พ. ศ. 2493 - 2502) ยังเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ Braun ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดจนปัจจุบัน นั่นคือ เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า S 50 เป็นเครื่องโกนหนวดไฟฟ้าเครื่องแรกจาก Braun ได้รับการออกแบบในปี 2481 แต่ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ต้องเลื่อนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์จนกระทั่งปี 2494[5] เครื่องโกนหนวดนี้มีจุดเด่นที่ชุดระบบการตัดแบบส่ายที่บางมากด้วยการประกอบจากแผ่นโลหะที่บางเบา ซึ่งหลักการออกแบบนี้ยังคงใช้ในเครื่องโกนหนวดของ Braun ในปัจจุบัน

ปีพ. ศ. 2493 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องใช้ในครัว เช่น เครื่องผสม MX 3 และเครื่องใช้ในครัว KM 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบอาหาร KM 3 นี้เริ่มออกแบบเป็นอย่างดีโดย Gerd Alfred Müller ในปี 1957 และสามารถรักษารูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่แทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลา 36 ปีจนถึงปี 2536

ในปีพ. ศ. 2505 บริษัท Braun กลายเป็น บริษัท Braun AG (บริษัทมหาชน) ในปีถัดมาบริษัทเริ่มจำหน่ายไมโครโฟน Shure ในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ในช่วงปี 2503 Braun ได้เริ่มสร้างวิทยุพกพา T3 ที่ออกแบบโดยดีเทอร์ รามส์ ในขณะนั้นเครื่องฉายฟิล์มสไลด์ของ Braun ได้นำเสนอระบบการฉายภาพคุณภาพสูงและมีโครงสร้างที่เป็นโลหะล้วน รวมกับสไตล์การใช้งานที่ทันสมัย ซึ่งสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ Eastman Kodak และ Leitz ที่อยู่ในตลาดระดับสูงในตลาดโลกได้ Braun ยังได้เริ่มจำหน่ายระบบกล้อง SLR ขนาดกลางคุณภาพสูงที่ผลิตโดยผู้ผลิตกล้องญี่ปุ่น Zenza Bronica ในประเทศเยอรมนีรวมถึงกล้องยี่ห้อ Braun-Nizo และกล้องฟิล์ม Super 8 (เดิมชื่อบริษัท Niezoldi & Krämer GmbH ซื้อโดยบริษัท Braun ในปี 1962 ) ในปี 2510 หุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทได้ถูกซื้อโดยกลุ่มบริษัท Gillette Group ในบอสตันรัฐแมสซาชูเซตส์

ในปีพ. ศ. 2513 Braun เริ่มให้ความสำคัญกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องโกนหนวด เครื่องชงกาแฟ มีดโกนไฟฟ้า นาฬิกาและวิทยุ กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องฉายสไลด์และผลิตภัณฑ์ไฮไฟถูกยกเลิก และในปี 1998 Braun AG ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัด

ในปีพ. ศ. 2524 แผนกเครื่องเสียงและเครื่องเสียงไฮไฟซึ่งเติบโตขึ้นจากธุรกิจหลักในอดีตของบริษัท ในด้านวิทยุและเครื่องเล่นแผ่นเสียง ได้ถูกแยกออกเป็น Braun Electronic GmbH ซึ่งเป็นบริษัทอิสระในเครือของ Gillette โดยบริษัท Braun Electronic GmbH นำเสนอชุดเครื่องเสียงไฮไฟสุดท้ายในปี 2533 ก่อนที่จะหยุดการดำเนินธุรกิจ ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 Braun ได้ขายแผนกถ่ายภาพและเครื่องฉายสไลด์ให้กับ Robert Bosch GmbH

ในปีพ. ศ. 2525 Gillette Group ได้ย้าย Braun ไปรวมกับบริษัทแม่โดยควบคุมการดำเนินงานของบริษัทแม่อย่างเต็มที่ ในปี 2527 Braun หยุดการผลิตบุหรี่ไฟแช็ค ในปีเดียวกันนั้นเบราน์ก็กลายเป็น บริษัทลูกของยิลเลตต์โดยสมบูรณ์[6]

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 (พ. ศ. 2533 - 2542) แม้ Braun จะสามารถครองตำแหน่งผู้นำในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของโลกก็ตาม แต่ความกังวลเรื่องการทำกำไรเริ่มมีมากขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทคู่แข่งหลายบริษัททำการเลียนแบบการออกแบบของ Braun อย่างกระชั้นชิดและผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าในประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำ[7] ซึ่งทำให้ Braun เริ่มการดำเนินคดีลิขสิทธ์์ต่อบริษัทเหล่านั้น การเริ่มต้นการดำเนินคดีของบริษัท Braun กลับเป็นการย้อนเข้าสู่การสูญเสียยอดขายและสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้สูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก[7]

ในปีพ. ศ. 2541 Gillette ตัดสินใจเปลี่ยน Braun AG กลับเป็นบริษัทจำกัด และ Gillette ซื้อคืนหุ้นกลับร้อยละ 19.9 [8][9] ในปีต่อมาแผนกการขายของ Braun ได้ถูกควบรวมกับส่วนธุรกิจอื่น ๆ ของ Gillette เพื่อลดต้นทุน ในตอนท้ายของทศวรรษที่ 1990 Braun และ Gillette ประสบความสูญเสียในหลายประเภทสินค้า ความพยายามของ Gillette ที่จะค้นหาวิธีที่จะกลับสู่การทำกำไรจึงได้พิจารณาตัดแผนกที่ทำกำไรได้น้อยของ Braun ทิ้งออกไป เช่น แผนกเครื่องใช้ในครัวและเครื่องวัดอุณหภูมิ แต่ความพยายามนี้ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากไม่มีผู้ซื้อแผนกเหล่านั้น[10] ต่อมายอดขายของ Braun ในแผนกเหล่านั้นเริ่มฟื้นตัวในปี 2543

Gillette ไดุ้ถููกซื้อกิจการโดย Procter & Gamble ("P&G") ในปี 2548 ทำให้ Braun เป็นบริษัทย่อยของ P&G[11] ในต้นปี 2551 P&G หยุดการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า Braun ยกเว้นเครื่องโกนหนวดและแปรงสีฟันไฟฟ้าในตลาดสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามในตลาดอื่น Braun ยังคงขายหมวดหมู่หลักทั้งหมดจนถึงปี 2555 เมื่อ De'Longhi ได้ซื้อสายผลิตภัณฑ์ Braun ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวโดยใช้เครื่องหมายการค้า Braun ภายใต้ใบอนุญาตจาก P&G[12]

ใกล้เคียง

บราวน์ บราวน์อายด์เกิลส์ บราวน์ (บริษัทเยอรมัน) บราวน์-วอเตอร์เนวี บราวน์นิ่ง ไฮเพาเวอร์ บราวน์ฟิลด์ บราวน์ผู้สามารถ บราวนีช็อกโกแลต บราวนี (กล้องถ่ายรูป) บราวนชไวก์-ลืนเนอบวร์ก

แหล่งที่มา

WikiPedia: บราวน์ (บริษัทเยอรมัน) http://www.braun.com http://www.braun.com/-/media/medialib/downloads/gl... http://investors.delonghi.com/pdf/pressreleases/fi... //www.worldcat.org/oclc/69982458 https://www.delonghigroup.com/sites/default/files/... https://www.forbes.com/sites/berlinschoolofcreativ... https://observer.com/2016/11/braun-is-proving-they... https://www.vitsoe.com/gb/about/dieter-rams https://web.archive.org/web/20070831114256/http://... https://designmuseum.org/designers/dieter-rams